วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเภทวงดนตรีสากล


ประเภทวงดนตรีสากล
  วง ดนตรีแต่ละประเภทมีลักษณะการประสมวงที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มนุษย์ได้คิดค้นวงดนตรีนั้นๆ ขึ้นมาใช้งานและหน้าที่ของวงดนตรีแต่ละประเภทด้วย กรประสมวงดนตรี หมายถึง การนำเครื่องดนตรีแต่ละประเภทหรือชนิดต่างๆ มาบรรเลงร่วมกันเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของบทเพลงด้วยเสียงดนตรีไปสู่ผู้ฟัง ตามรูปแบบที่ผู้ประพันธ์เพลงได้กำหนดเอาไว้ นับว่าเป็นศาสตร์ทางดนตรีที่มีประวัติความเป็นมายาวนานไม่น้อยไปกว่าการขับ ร้อง คีตกวีในแต่ละยุคสมัยได้สร้างสรรค์ผลงานสำหรับการบรรเลงด้วยวงดนตรีในรูปแบบ ต่างๆ ตามความนิยมในแต่ละยุคสมัย เราจะพบเห็นการบรรเลงของนักดนตรีตั้งแต่หนึ่งคนไปจนถึงหนึ่งร้อยคนวงดนตรี สากลที่บรรเลงในปัจจุบัน มีการเรียกชื่อต่างๆ กันออกไปหลายลักษณะ พิจารณาจากรูปแบบการประสมวงด้วยเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ และลักษณะของบทเพลงที่บรรเลง สามารถจำแนกวงดนตรีออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

1. วงแชมเบอร์ (Chamber Ensembles)

 การ แสดงดนตรีแบบแชมเบอร์ (Chamber Music) เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ สมัยนั้นดนตรีมีไว้สำหรับเจ้านายชั้นสูง เป็นวงดนตรีวงเล็ก บรรเลงเป็นกลุ่มตั้งแต่กลุ่มละ 2 คน ไปจนถึง 9 คน ใช้บรรเลงในห้องโถงหรือสถานที่ที่ซึ่งไม่ใหญ่โตมีผู้ฟังไม่มาก บางยุคสมัยก็นิยมแสดงในสวนหย่อม บทเพลงที่ใช้บรรเลง เป็นบทเพลงที่ประพันธ์สั้นๆ ต้องประพันธ์ขึ้นสำหรับวงแชมเบอร์นั้นๆ โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีอาจเป็นประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้ ลักษณะสำคัญของดนตรีแบบนี้ คือ ความเด่นชัดของเสียงเครื่องดนตรีในขณะบรรเลง ซึ่งต้องการแสดงเทคนิคและทักษะความสามารถของผู้บรรเลงและการประสานเสียง แต่ละแนวเสียงจะใช้นักดนตรีบรรเลงเพียง 1 คนเท่านั้น คีตกวีเกือบทุกคนจะมีผลงานแต่งเพลงแบบวงแชมเบอร์ ซึ่งการประสมวงดนตรีก็อาจแตกต่างกันออกไป ตามความนิยม ในปัจจุบันเรามักพบเห็นการแสดงดนตรีแบบแชมเบอร์ตามงานต่างๆ เช่น งานแต่งงานหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งนิยมบรรเลงเพลงที่ฟังสบายๆ ทั้งเพลงคลาสสิกและเพลงตามสมัยนิยม มีตั้งแต่กลุ่มละ 2 คน ไปจนถึง 9 คน แต่ละกลุ่มมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันตามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้
 1.1 กลุ่มละ 2 คน เรียกว่า ดูเอต (Duet) หรือ ดูโอ (Duo)
 1.2 กลุ่มละ 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)
 1.3 กลุ่มละ 4 คน เรียกว่า ควอร์เทต (Quartet)
 1.4 กลุ่มละ 5 คน เรียกว่า ควินเทต (Quintet)
 1.5 กลุ่มละ 6 คน เรียกว่า เซกเทต (Sextet)
 1.6 กลุ่มละ 7 คน เรียกว่า เซพเทต (Septet)
 1.7 กลุ่มละ 8 คน เรียกว่า ออคเทต (Octet)
1.8 กลุ่มละ 9 คน เรียกว่า โนเนต (Nonet)

2. วงออร์เคสตรา (Orchestra)

   วงออร์เคสตรา หรือวงดุริยางค์สากล เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องดนตรี และผู้บรรเลงจำนวนมาก บทเพลงที่ใช้บรรเลงมีหลายประเภท เช่น ซิมโฟนี คอนแชร์โต โอเวอร์เจอร์ เพลงบรรยายเรื่องราวต่างๆ บรรเลงประกอบการแสดงละครโอเปร่า บรรเลงประกอบการแสดงระบำปลายเท้า เป็นต้น
          วง ออร์เคสตรา มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งในด้านขนาดของการประสมวง และลักษณะบทเพลงที่ใช้บรรเลง การประสมวงออร์เคสตราในยุคแรกประมาณกลางศตวรรษที่ 17 เครื่องดนตรีหลักจะเป็นเครื่องสายในตระกูลไวโอลิน ต้นศตวรรษที่ 18 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดต่างๆ เช่น แตรทรัมเป็ท ถูกนำมาประสมวงด้วย พร้อมทั้งกลองทิมปานี กลางศตวรรษที่ 18 การประสมวงออร์เคสตรามีรูปแบที่เป็นมาตรฐาน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ถูกนำมาประสมวงและมีบทบาทในเพลงมากขึ้น
          ตอน ต้นศตวรรษที่ 19 เครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลือง ถูกพัฒนาเทคนิคการบรรเลงเพิ่มมากขึ้น วงออร์เคสตราในยุคนี้ได้ถูกพัฒนาไปทั้ง 2 ด้านพร้อมกัน คือ ด้านขนาดของวงและเทคนิคการบรรเลงใหม่ๆ
           การประสมวงออร์เคสตรา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
          2.1 วงแชมเบอร์ออร์เคสตรา
          วง แชมเบอร์ออร์เคสตรา หมายถึง วงดนตรีที่ประสมวงด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลินเท่านั้น มีผู้บรรเลงจำนวน 16 – 20 คน
          2.2 วงซิมโฟนีออร์เคสตรา หรือวงดุริยางค์ซิมโฟนี ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง เครื่องลิ้มนิ้ว และเครื่องตีกระทบ เป็นลักษณะการประสมวงที่สมบูรณ์ที่สุด ขนาดของวงได้กำหนดโดยผู้บรรเลงในกลุ่มเครื่องสายดังนี้


1) วงขนาดเล็ก (Small Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 40 – 60 คน
2) วงขนาดกลาง (Medium Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 60 – 80 คน
3) วงขนาดใหญ่ (Full Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 80 คนขึ้นไป

          การ จัดวงออร์เคสตรา คำนึงถึงความกลมกลืนของเสียงดนตรี กลุ่มเครื่องสายมีจำนวนมากที่สุดในวง ประมาณ 2 ใน3 ของจำนวนผู้บรรเลงทั้งหมด กลุ่มเครื่องสายนั่งอยู่ด้านหน้าสุด ต่อจากนั้นจะเป็นกลุ่มเครื่องลมไม้ กลุ่มเครื่องลมทองเหลืองและกลุ่มเครื่องตีกระทบอยู๋ด้านหลัง
          วาทยกร (Conductor) หรือ เรียกว่า ผู้อำนวยเพลง คือผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมวงดนตรี ต้องที่ด้านหน้าวงดนตรี เพื่อกำกับจังหวะ กำกับลีลา และกำกับความดังเบาของบทเพลงที่บรรเลงอยู่ เป็นผู้เชื่อมโยงอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงไปสู่ผู้ฟังเพลง

3. วงแบนด์ (Band)

   วงแบนด์ เป็นการผสมวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมไม้ และเครื่องลมทองเหลืองเป็นหลัก มีเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสม วงแบนด์แบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ดังนี้
          3.1 วงซิมโฟนิคแบนด์ (Symphonic Band) เป็นการผสมที่เน้นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดต่างๆ เป็นสำคัญ และมีเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสม ใช้บรรเลงในร่ม ในห้องประชุม หรือห้องจัดแสดงดนตรี บทเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเขียนขึ้นโดยเฉพาะ วงซิมโฟนิคแบนด์จะไม่นำไวโอลิน วิโอลา และเชลโลมาประสมวง ยกเว้นดับเบิลเบสซึ่งเป็นเครื่องสายชนิดเดียวที่นำมาประสมในวงประเภทนี้ การประสมวงดนตรีและการบรรเลงดนตรีในลักษณะนี้ อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น Concert Band หรือ Wind Ensemble
          3.2 วงมาร์ชชิ่งแบนด์ (Marching Band) เป็นวงดนตรีที่มีอยู่ตามโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ เหมาะสำหรับบรรเลงกลางแจ้ง เป็นดนตรีสนาม ใชบรรเลงนำขบวนพาเหรด บรรเลงในสนามกีฬา บรรเลงในวงเฉลิมฉลองต่างๆ ที่ต้องการความครึกครื้น สนุกสนาน และความเข้มแข็ง เพลงที่บรรเลงมีทั้งมาร์ชต่างๆ และเพลงลีลาแบบอื่นๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงมาร์ช นำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อบรรเลงโดยวงมาร์ชชิ่งแบนด์โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีที่นำมาประสมในวงมาร์ชชิ่งแบนด์คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีกระทบประกอบจังหวะ ถ้าดูจากการประวงของเครื่องดนตรีแล้ว วงมาร์ชชิ่งแบนด์สมารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                3.2.1 แตรวง (Brass Band) ผสม วงดนตรีด้วยเครื่องดนตรีเพียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง คือ เครื่องดนตรีจำพวกแตรชนิดต่างๆ และกลุ่มเครื่องตีกระทบประกอบจังหวะ
               3.2.2 วงโยธวาทิต (Military Band) เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในกิจการของทหาร เช่น บรรเลงสำหรับเดินแถวทหาร บรรเลงเพื่อปลุกใจทหาร ต่อมาได้แพร่หลายไปสู่สถานศึกษาต่างๆ โดยได้นำวงโยธวาทิตไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียน
               วง โยธวาทิต ผสมวงดนตรีด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องลมทองเหลืองและกลุ่มเครื่องตีกระทบประกอบจังหวะ จำนวนเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสม
               วงโยธวาทิตที่มีชื่อเสียงของโลก คือ วงโยธวาทิตของ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า (John Philip Sousa ค.ศ. 1854 - 1993) เป็นวงโยธวาทิตที่อยู่ในอเมริกา และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สำหรับ จอห์น ฟิลิป ซูซ่า นั้น เป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรีอย่างมาก เป็นทั้งผู้ควบคุมวงดนตรีที่มีความสามารถ และนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะเพลงในลีลาจังหวะมาร์ช เขาแต่งได้อย่างไพเราะทุกเพลง จนได้รับการยกย่องให้เป็น ราชาแห่งเพลงมาร์ช
          3.3 วงบิ๊กแบนด์ (Big Band) คือ วงดนตรีแจ๊สประเภทหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ราวปี ค.ศ. 1920 นักดนตรีแจ๊สทั้งหลายมีความคิดที่จะทำให้วงดนตรีแจ๊สทัดเทียมกับวงดนตรีประ เภทออร์เคสตรา ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ที่ได้พัฒนามาช้านานลัว จึงได้รวมตัวกันบรรเลงด้วยจำนวนนักดนตรีที่มากกว่าที่เคยรวมตัวกันมา คือ ประมาณ 12 – 17 คน ซึ่งแต่เดิมวงดนตรีแจ๊สจะมีนักดนตรีประมาณ 4 – 8 คน เท่านั้น
          วงดนตรี บิ๊กแบนด์ เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 3 กลุ่ม ดังนี้
               3.3.1 กลุ่มเครื่องลมไม้ ประกอบด้วยอัลโตแซ็กโซโฟน 2 เครื่อง เทเนอร์แซ็กโซโฟน 2 เครื่อง บาริโทนแซ็กโซโฟน 1 เครื่อง รวมทั้งปี่คลาริเนตและฟลุทด้วย
               3.3.2 เครื่องลมทองเหลือง ประกอบด้วย แตรทรัมเป็ท 2 – 3 เครื่อง สไลด์ทรอมโบน 2 เครื่อง
               3.3.3 เครื่องกระทบหรือเครื่องตีประกอบจังหวะ ประกอบด้วย กลองขนาดต่างๆ แบนโจ กีต้าร์เบส รวมทั้งเปียโนด้วย
          จุด มุ่งหมายของการบรรเลงด้วยวงบิ๊กแบนด์ก็เพื่อประกอบการเต้นรำและเอาไว้ฟัง เพื่อความไพเราะ นอกจากนั้นยังมุ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจอีกด้วย ดังนั้นจึงทำให้วงดนตรีชนิดนี้มีชื่อเรียกเพิ่มขึ้นอีก 2 ชื่อ คือ Dance Band และ Commercial Band หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจของโลกซบเซา วงดนตรีแจ๊สวงใหญ่ที่เรียกว่าบิ๊กแบนด์จึงได้เสื่อมความนิยมไปในที่สุด
           3.4 วงคอมโบ (Combo) คือวงดนตรีขนาดเล็ก ที่เกิดขึ้นหลังจากวงบิ๊กแบนด์เสื่อมความนิยมลง จุ่งมุ่งหมายของการบรรเลงด้วยวงคอมโบ คือ บรรเลงประกอบขับร้อง บรรเลงเพื่อการฟัง บรรเลงประกอบการเต้นรำ และบรรเลงเพื่อประกอบการแสดงต่างๆ
          วง คอมโบมีจำนวนนักดนตรี และเครื่องดนตรีไม่แน่นอน เครื่องดนตรีส่วนมากที่ใช้ คือ ไวโอลิน ทรัมเป็ท แซ็กโซโฟน ทรอมโบน เปียโน เบส ดับเบิลเบส กลองชุด และเครื่องตีกระทบจังหวะต่างๆ เช่น มาราคาส แทมบูริน เป็นต้น
          เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็สามารถนำมาผสมวงเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ

4. วงชาโดว์ (The Shadow)

 เป็นวงดนตรี ขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20 ปีมานี่เองในอเมริกา วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะThe Beattle หรือสี่เต่าทอง เครื่องดนตรีในสมัยแรก มี 4 ชิ้น คือ
 1. กีตาร์เมโลดี้ (หรือกีตาร์โซโล)
2. กีตาร์คอร์ด
3. กีตาร์เบส
4. กลองชุด
           วงชา โดว์ ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่า เช่น แซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม และบางทีอาจมี ไวโอลินผสมด้วย เพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น โดยเฉพาะเพลงประเภท อันเดอร์กราว

5. วงสตริงคอมโบ (String Combo)

    วงสตริงคอมโบ เป็นวงดนตรีที่ได้คลี่คลายมาจากวงชาโดว์ บทเพลงที่บรรเลงส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพลงในแนวดนตรีร็อคเหมือนเดิม เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการประสมวง ประกอบด้วย กีต้าร์ไฟฟ้า 2 เครื่อง กีต้าร์เบส 1 เครื่องคีย์บอร์ด (เปียโน เปียโนไฟฟ้า ซินธีไซเซอร์) 1 เครื่องกลองชุด 1 ชุด กีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทในการบรรเลงมาก ทำหน้าที่บรรเลงทำนองสอดแทรกต่างๆ ทำนองในตอนขึ้นต้นบทเพลง ทำนองล้อรับเสียงขับร้อง โซโล และทำนองท่อนลงจบ กีต้าร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ลีดกีต้าร์ (Guitar Lead) หรือ โซโลกีต้าร์ (Guitar Solo) ส่วนกีต้าร์ที่เหลืออีก 1 เครื่อง จะทำหน้าที่ดีดคอร์ด ประกอบบทเพลงด้วยลีลาต่างๆ เรียกว่า ริธึ่มกีต้าร์ (Guitar Rhythm) วงสตริงคอมโบบางวงอาจจะเพิ่มกลุ่มของนักดนตรีประเภทเครื่องเป่าเข้าไปด้วย ประมาณ 1- 3 คน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่นิยมนำมาประสมวง ได้แก่ ทรัมเป็ท ทรอมโบน และแซ็กโซโฟน

6. วงโฟล์คซอง (Folksong)

ความหมายที่แท้จริงของคำว่า โฟล์คซอง (Folksong) คือ เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงของชาวบ้านที่สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน หรือประกอบงานพิธีของชาวบ้าน เนื้อหาของบทเพลงจะมีทั้งคติสอนใจ คติธรรม เรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ ความรัก เป็นตัน การขับร้องจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ หรือไม่มีก็ได้ ถ้าใช้เครื่องดนตรี ก็จะนำเครื่องดนตรีที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาบรรเลงประกอบ ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่แน่นอน ถือได้ว่าเพลงพื้นบ้านของทุกชาติเป็นตันกำเนิดของเพลงชนิดอื่นๆ ซึ่งต่างก็วิวัฒนาการมาจากเพลงพื้นบ้านทั้งนั้น
          สำหรับในประเทศไทย มีผู้นำเอาคำว่า โฟล์คซอง มาใช้ในความหมายของ การขับร้องเพลงตามสมัยนิยมทั่วไป พร้อมกับการบรรเลงกีต้าร์คลอประกอบการขับร้อง ในยุคแรกๆ จะนิยมใช้อคูสติกกีต้าร์ (กีต้าร์โปร่ง) ในการบรรเลงคลอ ปัจจุบันนิยมที่จะนำกีต้าร์ไฟฟ้ามาใช้บรรเลงด้วยเหมือนกัน การขับร้องจะมีความสำคัญมากกว่าการบรรเลงดนตรี เครื่องดนตรีอื่นๆ ที่สามารถนำมาประสมวงได้ เช่น หีบเพลงปาก ขลุ่ย และเครื่องดนตรีประกอบจังหวะต่างๆ

7. วงแตรวงชาวบ้าน

      แตรวงชาวบ้าน เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแถบชนบทเป็นเวลาช้านานแล้ว การประสมวงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน เครื่องดนตรีหลักคือเครื่องเป่าชนิดต่างๆ ทุกชนิด เท่าที่จะหาได้ ไม่จำกัดเฉพาะเครื่องดนตรีประเภทแตรเท่านั้น พร้อมทั้งมีเครื่องตีประกอบจังหวะจำนวนหนึ่ง ตามความเหมาะสม ลักษณะการบรรเลงเหมือนการประโคมประกอบงานต่างๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้นมากกว่าไพเราะ เพลงที่นำมาบรรเลงมีทั้งเพลงไทย เพลงลูกทุ่ง และเพลงอื่นๆ ที่มีลีลาจังหวะที่สนุกสนาน
          แตร วงเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงใน กิจกรรมของชาวบ้าน แตรวงใช้สำหรับการประโคมและการแห่ในงานต่างๆ อาทิ งานศพ งานบวช งานแต่งงาน งานสมโภชและงานสังสรรค์รื่นเริง แตรวงนิยมใช้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการประโคมและการแห่(1)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น